ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น – 西尾観光
交通アクセス 観光案内所 お問合わせ
  • เหน้าบนสุด
  • เมืองนิชิโอะคือ...?
  • การท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
  • ทัวร์กิจกรรม
  • เทศกาล
  • ชามัทฉะ
  • ปลาไหล
  • การกลั่น และหมัก
  • วิธีการเดินทาง

ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของเมืองนิชิโอะ (Nishio)

ชาเขียวแห่งเมืองนิชิโอะ “นิชิโอะมัทฉะ” (Nishio Matcha)

  • เมืองนิชิโอะ (Nishio) มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นหนึ่งในแหล่งผลิตชามัทฉะของญี่ปุ่น นิชิโอะมัทฉะ (Nishio Matcha) นั้นมีจุดเด่นอยู่ที่ชาที่มีสีเขียวเข้ม กลิ่นหอมอย่างมีระดับ และรสชาติที่เข้มข้นกำลังดี โดยทุกท่านสามารถลิ้มลองความพิเศษนี้ได้ตามร้านชา คาเฟ่ ร้านอาหารหลายแห่งภายในเมืองนิชิโอะ ขนมหวานที่ใช้มัทฉะเป็นส่วนผสมอย่างมัทฉะพาร์เฟ่ต์ น้ำแข็งไสราดมัทฉะ เค้กมัทฉะ และวากาชิหรือขนมสไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิมรสมัทฉะจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชามัทฉะที่เสิร์ฟที่อดีตที่พำนักของตระกูลโคโนเอะ (Former Konoe Residence) ในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองนิชิโอะ (Nishio City Historical Park) และจะยิ่งพิเศษกว่าเดิมเพราะทุกท่านจะสามารถเพลิดเพลินกับการจิบชาพลางชมวัฒนธรรมญี่ปุ่นไปพร้อม ๆ กันได้



อุทยานประวัติศาสตร์เมืองนิชิโอะ (Nishio City Historical Park)
(อดีตที่พำนักของตระกูลโคโนเอะ (Former Konoe Residence)


เพลิดเพลินกับการเที่ยวชมโรงงานชามัทฉะ
สนุกกับการใช้เครื่องโม่หินบดใบชากับมือ
และดื่มด่ำไปกับชาที่ชงด้วยฝีมือตนเองกันเถอะ



ปลาไหลนิชิโอะ (Nishio Unagi)

  • Nishio Isshiki Unagi
  • ขอชวนทุกท่านมาลิ้มลองบาร์บีคิวปลาไหลที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของอาหารญี่ปุ่นที่ใครมาก็ต้องทาน สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้วปลาไหลเป็นอาหารขึ้นชื่อที่สืบทอดต่อกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่สมัยมันโยราวศตวรรษที่ 8 “ข้าวหน้าปลาไหล” (Una Don) ที่นำปลาไหลย่างร้อน ๆ มาวางบนข้าวสวยเป็นหนึ่งในอาหารที่ถูกจัดให้เป็นอาหารดั้งเดิมอันทรงคุณค่าของญี่ปุ่น คุณภาพของปลาไหลอิชชิกิ (Isshiki Unagi) นั้นถือเป็นความภาคภูมิใจของเมืองเรา เช่นเดียวกันกันกับนิชิโอะมัทฉะ (Nishio Matcha) ที่ถือเป็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ท้องถิ่นอันดับต้น ๆ ของประเทศ
    ในเมืองนิชิโอะเองก็มีร้านขายเมนูอาหารที่ใช้ปลาไหลโดยเฉพาะอยู่ทั่วเมือง จึงอยากให้ทุกท่านได้มาเยือน และลิ้มลองปลาไหลอิชชิกิกันให้ได้




อาหารทะเลจากอ่าวมิคาวะ (Mikawa)

  • แม่น้ำยาฮากิ (Yahagi) ที่ไหลผ่านนิชิโอะ (Nishio) ก่อให้เกิดผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ อ่าวมิคาวะ (Mikawa) ซึ่งเชื่อมต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิกก็ถือเป็นแหล่งขุมทรัพย์ของอาหารทะเล เนื่องจากเมืองนิชิโอะนั้นอุดมไปด้วยผลผลิตทางการประมงอันอุดมสมบูรณ์ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ยอดเยี่ยม ปลาไหลและหอยลาย (Asari) ของที่นี่มีปริมาณการผลิตมากที่สุดในญี่ปุ่นเลยทีเดียว ข้าวเกรียบกุ้งที่ทําจากกุ้งจากอ่าวมิคาวะ หรืออาหารที่ปรุงจากอาหารทะเลสดใหม่จากอ่าวมิคาวะเป็นหนึ่งในอาหารหลายจานที่เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างดี กรุณามาลิ้มลองดูสักครั้งกันเถอะ


มิโซะ (Miso)

  • นับเป็นเวลากว่า 1,000 ปีแล้วที่มิโซะ (Miso) ซึ่งทำจากถั่วเหลืองทั้งเมล็ดจัดว่าเป็นส่วนผสมหลักของอาหารญี่ปุ่นที่ปรุงกันในครัวเรือน ชนิดของมิโซะที่ทำขึ้นในเมืองนิชิโอะ (Nishio) จะเรียกว่า มิโซะแดง (Akamiso) จากสีแดงออกน้ำตาลของตัวมิโซะที่ผ่านการหมักเป็นเวลานานโดยที่ไม่ผสมข้าว ข้าวสาลี หรือข้าวบาร์เลย์ใด ๆ ด้วยความที่มีรสชาติที่ล้ำลึก และสามารถนำไปใช้ถนอมอาหารได้จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยมของบริเวณมิคาวะ (Mikawa) เลยทีเดียว เดิมทีมิโซะนั้นถูกทำขึ้นใช้ในครัวเรือนจึงถือว่าเป็น “รสชาติของครอบครัว” อย่างแท้จริง ทว่าภายหลังมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในยุคเอโดะ จึงทำให้มิโซะบางชนิดได้รับความนิยมมากกว่ามิโซะชนิดอื่น และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วประเทศ สำหรับมิโซะแดงของนิชิโอะนั้นขึ้นชื่อในเรื่องของกลิ่นที่ยังคงหอมแม้ถูกนำไปต้ม ทั้งยังช่วยเสริมให้รสชาติของวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ใช้ปรุงอาหารนั้นกลมกล่อมยิ่งขึ้นด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ผู้คนเริ่มตระหนักถึงคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองอย่างมิโซะมากขึ้นทำให้ตอนนี้ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลกในฐานะอาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมิโซะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทหมักดอง ในภาษาญี่ปุ่นผู้ผลิตมิโซะด้วยวิธีดั้งเดิมจึงมักถูกเรียกว่า “โจโซ” (Jozo) หรือโรงหมัก ซึ่งที่นิชิโอะมีถึง 3 แห่งเลยทีเดียว


คลังมิโซะในนิชิโอะ

  • ฮาโตยะ (มิโซะพาร์ค)
    Hatoya (Miso Park)
  • ซูซูมิโซะ โจโซโจะ
    (Suzumiso Jozojo)
  • อิไม โจโซ (Imai Jozo)

จานมิโซะถั่ว


  • “อาหารเสียบไม้โฮเซะแห่งเมืองนิชิโอะ”
    (Nishio Hose)

    พื้นที่บางส่วนของมิคาวะ(Mikawa) อย่างเมืองนิชิโอะ (Nishio) จะเรียกอาหารเสียบไม้เป็นภาษาถิ่นว่า “โฮเซะ” (Hose) อย่างเช่นพวกก้อนบุกหรือเต้าหู้เสียบไม้เด็งกาคุ (Dengaku) โมจิเสียบไม้ย่างโกเฮโมจิ (Goheimochi) อาหารเสียบไม้ที่ใคร ๆ ก็รู้จักอย่าง “ดังโกะ” (Dango) หรือมิตาราชิดังโกะ (Mitarashi Dango) ที่พบได้ทั่วไป “มิตาราชิ” (Mitarashi) เป็นอาหารที่ทำโดยการทาซอสที่มีรสชาติหวานปนเค็มจากส่วนผสมอย่างโชยุ และน้ำตาลลงไปบนก้อนแป้งที่ย่างเสร็จร้อน ๆ


เหล้าสาเกญี่ปุ่น

  • ตามบันทึกของศาลเจ้ามิคาวะซากามิ (Mikawasakami) ประวัติความเป็นมาของการกลั่นเหล้าในจังหวัดไอจิ (Aichi) ต้องย้อนกลับไปกว่า 1,000 ปี ตั้งแต่สมัยนั้นเหล้ารสเลิศจะทำจากน้ำอันใสสะอาดจากแม่น้ำยาฮากิ (Yahagi) และข้าวคุณภาพดีที่ปลูกบนผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ ความนิยมของเหล้าของไอจินั้นเกิดขึ้นจากการผลักดันของโทคุกาวะ มิตสึโทโมะซึ่งเป็นขุนนางศักดินาลำดับที่ 2 แห่งตระกูลโอวาริ (ไดเมียว) ในสมัยเอโดะ เพื่อหาตลาดที่ใหญ่ขึ้น จึงได้ขยายช่องทางการขายมาสู่เมืองเอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) จนได้รับความสำเร็จครั้งใหญ่
    ในตอนนั้นเหล้าของมิคาวะมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่สูงจึงเป็นที่รู้จักกันในนาม “โอนิ โอะ โมะ โยวาสุ” (ยักษ์ยังล้ม) และ “โอนิ โคโรชิ” (เครื่องสังหารยักษ์) อีกด้วย

    ผู้คนจะคิดกันว่าเหล้าประจำบ้านเกิดทำให้ผู้คนจากพื้นที่โอวาริ (Owari) และพื้นที่มิคาวะ (Mikawa) ที่อาศัยในเมืองเอโดะ รวมถึงเหล่าข้ารับใช้ของโชกุนรู้สึกนึกถึงบ้านเกิดขึ้นมา ท้ายที่สุดยังกล่าวกันว่าเหล้าไอจินั้นได้ยึดครองวงการเหล้าญี่ปุ่น และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากพอ ๆ กันกับ “เหล้าโอโตโคะ” (Otokozake) แห่งเมืองนาดะ (Nada) จังหวัดเฮียวโกะ (Hyogo) เลยทีเดียว
    ทุกวันนี้ ในพื้นที่ที่มีธรรมชาติและอากาศที่สมบูรณ์เช่นนี้ยังคงมีโรงกลั่นเหล้า และเจ้าของโรงกลั่นที่ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพ และขัดเกลาเทคนิคในการผลิตเหล้า เหล้าสาเกญี่ปุ่นรสเลิศซึ่งผ่านกระบวนการผลิตที่พิถีพิถันจึงยังคงทำให้ผู้คนทั่วญี่ปุ่นได้เคลิบเคลิ้มกันต่อไป



แนะนำการกลั่นเหล้าของเมืองนิชิโอะ

  • นับตั้งแต่ก่อตั้งมาในปี 1903 โรงกลั่นโอโตะ (Oto No Shuzo) ใส่ใจในการผลิตเหล้ามาโดยตลอด โดยจะเลือกใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่น และยังใช้ข้าวสำหรับกลั่นเหล้าที่ปลูกในจังหวัดไอจิมากกว่า 95% อีกด้วย“หากกล่าวถึงชนิดของข้าวที่ใช้ในการทำเหล้าสาเกญี่ปุ่นแล้ว โดยทั่วไปมักใช้ข้าวยามาดะ นิชิกิ (Yamada Nishiki) ที่ปลูกในจังหวัดเฮียวโกะ (Hyogo) มาทำ แต่ท่านประธานคนก่อนเคยพูดไว้ว่า “เรามาทำเหล้าสาเกญี่ปุ่นโดยใช้ข้าวคุณภาพดีที่ปลูกในจังหวัดไอจิ (Aichi) โดยดึงเอาจุดเด่นนั้นมาใช้ประโยชน์กันดีกว่า” จึงยึดตามเจตนารมณ์ของท่าน” เรื่องเล่านี้แสดงให้เห็นถึงรากเหง้าของพวกเราในฐานะที่เป็นโรงกลั่นเหล้าของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

“เหล้านิวาริ นิบุ โอคุ” (Niwari Nibu Oku) รสเข้ม และมีมูลค่าสูง

  • เหล้านี้ทำจากเหล้าสาเกญี่ปุ่นที่ขัดสีเมล็ดข้าวอย่างพิถีพิถันโดยจะเหลือข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี (ข้าวเกนไม) เพียง 22% เท่านั้น เพื่อให้ได้เมล็ดข้าวที่ละเอียดอย่างมากที่จะนำมาใช้ทำเหล้าในซีรี่ส์ “โอคุ” (Oku) นี้จะต้องทำด้วยความใส่ใจ และความระมัดระวังโดยใช้อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบขึ้นมาแบบพิเศษ
  • เหน้าบนสุด
  • เมืองนิชิโอะคือ...?
  • การท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
  • ทัวร์กิจกรรม
  • เทศกาล
  • ชามัทฉะ
  • ปลาไหล
  • การกลั่น และหมัก
  • วิธีการเดินทาง