“นิชิโอะ” ลิตเติ้ลเกียวโตแห่งม – 西尾観光
西尾初心者旅ナビ
交通アクセス 観光案内所 お問合わせ
  • เหน้าบนสุด
  • เมืองนิชิโอะคือ...?
  • การท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
  • ทัวร์กิจกรรม
  • เทศกาล
  • ชามัทฉะ
  • ปลาไหล
  • การกลั่น และหมัก
  • วิธีการเดินทาง

“นิชิโอะ” ลิตเติ้ลเกียวโตแห่งมิคาวะ (Mikawa’s Little Kyoto “Nishio”)

ในปี 1561 โทคุกาวะ อิเอยาสึ (ผู้นำคณะรัฐบาลโชกุนบาคุฟุชุดสุดท้ายของญี่ปุ่น) ได้แต่งตั้งข้าราชบริพารคนหนึ่งให้มาเป็นเจ้าผู้ครองปราสาทนิชิโอะ และให้ปกครองเมืองนิชิโอะ (Nishio) ที่รุ่งเรืองในฐานะที่เป็นเมืองรอบปราสาทที่สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้มากถึง 60,000 คาคุ (หน่วยนับปริมาณข้าวในอดีต)

เมืองนิชิโอะมีศิลปะแบบดั้งเดิม และวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองซึ่งสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันผ่านงานเทศกาลอย่างงานไดเมียวเกียวเรตสึ หรือศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิม อย่างที่สามารถพบได้ตามวัดดังที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน

ทุกท่านลองจินตนาการว่าตนเองเป็นเจ้าหญิง หรือซามุไรที่เดินเล่นรอบเมืองกันดูบ้างไหม


ความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเกียวโต


นิชิโอะ (Nishio) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่รอบปราสาทซึ่งเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยสงครามเซ็นโกคุเป็นต้นมา ถือเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางตอนใต้ของนิชิมิคาวะ(Nishimikawa) ในปี 1764 โอกิวมัตสึไดระก็ได้ย้ายเข้ามาปกครองปราสาท และทำให้เกิดการพัฒนาการปลูกข้าว 60,000 คาคุ (หน่วยนับปริมาณในอดีตเทียบเท่าประมาณ 180.4 ลิตร) ภายในเมืองมีวัดโชเอนจิ (Choenji) ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นวัดของบรรพบุรุษตระกูลอิตาคุระอย่าง อิตาคุระ คัตสึชิเกะ อิตาคุระ ชิเกมุเนะ และอิตาคุระ ชิเกโนริซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าการเมืองเกียวโต ส่วนผลงานที่มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมเกียวโตก็จะมีผลงานของโรงเรียนศิลปะคาโนะภาพวาดหญิงสาวของภิกษุโชคะโด งานเขียนของโคโบริ เอนชู อิชิคาวะ โจซัน และฮนอามิ โคเอตสึ

ในเดือนสิงหาคมของทุก ๆ ปี จะมีการจัดเทศกาล “คากิมันโต” (Kakimanto) ขึ้นที่ภูเขามันโต เทศกาลนี้เป็นเทศกาลโอบ้งที่มีลักษณะคล้ายกันกับเทศกาลโกซัง โอคุริบิ (Gosan Okuribi) ของเกียวโต หรือที่รู้จักกันในชื่อเทศกาลไดมนจิยากิ (Daimonjiyaki) ซึ่งเป็นเทศกาลที่จะจุดไฟเป็นรูปตัวอักษรจีนบนยอดเขาทั้ง 5 ในเมือง ถือเป็นอีกหนึ่งภาพจำของฤดูร้อนของที่นี่

กล่าวกันว่านิชิโอะมัทฉะ (Nishio Matcha) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สุดพรีเมี่ยมในท้องถิ่นนั้นเกิดจากการที่พระสงฆ์วัดจิสโซจินิกายเซนได้นำธรรมเนียมการดื่มชาเข้ามา นิชิโอะมัทฉะเป็นที่ชื่นชอบของคนท้องถิ่นจำนวนมากในมืองนิชิโอะ บริเวณแม่น้ำมิโดริ (Midori) ที่ไหลผ่านตัวเมืองมีต้นซากุระปลูกเรียงรายริมสองฝั่งแม่น้ำ จึงกลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในท้องถิ่น และสะพานข้ามแม่น้ำสายนี้ยังมีชื่อที่น่าสนใจว่า สะพานนิโจ (Nijo) สะพานซันโจ (Sanjo) และสะพานชิโจ (Shijo) อีกด้วย

ในปี 1995 นิชิโอะได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกของสมาคมเกียวโตแห่งญี่ปุ่นโดยมีจุดประสงค์เพื่อสืบค้นวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของนิชิโอะอีกครั้ง เมืองนี้จึงเรียกตนเองว่า ลิตเติ้ลเกียวโตแห่งมิคาวะ/นิชิโอะ (Mikawa’s Little Kyoto/Nishio)


นิชิโอะมัทฉะ(Nishio Matcha)

ว่ากันว่า นิชิโอะมัทฉะ (Nishio Matcha) ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อประจำพื้นที่แถบนี้ถูกนำเข้ามาโดยพระสงฆ์วัดจิสโซจินิกายเซนในปี 1271 ส่วนการเพาะปลูกชาแบบอุตสาหกรรมเริ่มต้นในสมัยเมจิจากการแนะนำของอาดาจิ จุนจิที่นำเมล็ดชาจากอุจิเข้ามา

สีเขียวเข้ม กลิ่นหอมแบบมีระดับ และรสชาติละมุนกลมกล่อมของนิชิโอะมัทฉะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากผืนดืนที่อุดมสมบูรณ์ และหมอกที่เกิดจากแม่น้ำยาฮากิ (Yahagi) ผงชาเท็นฉะ (Tencha) ของนิชิโอะเป็นวัตถุดิบในการทำมัทฉะที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นเลยทีเดียว


แร่ไมก้าแห่งภูเขายัทสึโอโมเทะยามะ (Yatsuomoteyama)

พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางการผลิตแร่ไมก้ามาตั้งแต่อดีต ประมาณปี 712 แร่ไมก้าจากภูเขายัทสึโอโมเทะยามะได้รับการนำไปถวายต่อราชสำนักในฐานะ “โช” (หนึ่งในประเภทของภาษีจักรวรรดิ) ในช่วงสมัยเอโดะ (1603-1868) แร่ไมก้าถูกขุดขึ้นมาใช้ในปริมาณมาก แต่ต่อมาเหมืองก็ถูกทิ้งร้างในสมัยเมจิ (1868-1912)

ถึงแม้ในปัจจุบันเหมืองจะถูกปิดตัวไปแล้วแต่ทุกท่านสามารถมองเห็นได้จากบริเวณทางทิศเหนือของภูเขา


วัดโชเอนจิ (Choenji)

วัดแห่งนี้เป็นวัดประจำตระกูลไดเมียวตระกูลอิตากุระ ในปี 1630 ชิเกะมุเนะ อิตาคุระ ได้สร้างวัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปีการเสียชีวิตของ ถึงคัตสึชิเกะ ผู้เป็นบิดาของเขา มีศูนย์กลางอยู่ที่ห้องโถงโชเอโดะ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของ คัตสึชิเกะ อิตาคุระ ซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าคนแรกของโชกุนเกียวโต มีหลุมฝังศพของหัวหน้าครอบครัวแต่ละครอบครัวตั้งอยู่เคียงข้างกัน และมีสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเกียวโตจำนวนมากมายถูกเก็บรักษาไว้ที่นี่


ที่อยู่101 Kaifukucho, Nishio City

งานเทศกาลปล่อยโคมคากิมันโตะ “Kagimanto”

ในช่วงเทศกาลฤดูร้อนโอบงจะมีการนำโคมรูปนกสุซึมิ 108 ตัว ไปวางเรียงเป็นรูปตะขอทางฝั่งตะวันตกของภูเขามันโตยามะ และเมื่อถึงคืนวันที่ 14 สิงหาคม จะมีการจุดไฟขึ้น ว่ากันว่าในอดีตได้เกิดการต่อสู้กันระหว่างพระนักรบอาซาอิ เซ็นโบ และ สุมิ เซ็นโบ บนภูเขาลูกนี้ ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมมีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ต่อมาเลยมีการสร้างสถานที่ฝังศพที่เรียกว่า “เซ็นนินทสึกะ” และเกิดเป็นเทศกาลจุดโคมไฟเพื่อไว้อาลัยให้กับดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตในสงครามงานเทศกาลนี้สามารถมองเห็นได้จากระยะไกลตั้งแต่ชายฝั่งชิตะ รวมถึงพื้นที่บริเวณนิชิมิคาวะ มีผู้คนมากมายมาชมบรรยากาศยามเย็น และคนท้องถิ่นที่นี่เชื่อกันว่าจะสามารถทำนายเรื่องการเก็บเกี่ยวได้โดยดูจากความสวยงามของไฟในงาน


อุทยานประวัติศาสตร์เมืองนิชิโอะ (ปราสาทนิชิโอะ) Nishio City Historical Park (Nishio Castle)


สมัยคามาคุระในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 13 นิชิโอะ (Nishio) ซึ่งเดิมมีชื่อว่าคิระโซได้ถูกปกครองโดยตระกูลอาชิคากะ (คิระ)

กล่าวกันว่าภายหลัง “สงครามปีโจคิว” สิ้นสุด อาชิคากะ โยชิอุจิก็ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหาร (ชุโก) จากการที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เจ้าตัวจึงได้แต่งตั้งให้โอซาอุจิ บุตรชายคนโตของตนเป็นเจ้าผู้ครองที่ดิน (จิโต) และก่อตั้งฐานบัญชาการใกล้ ๆ กันกับปราสาทนิชิโอะ หลัง “สงครามโอนิน” สิ้นสุดลงก็ได้มีการสร้างปราสาทขึ้นในหลาย ๆ แห่งในญี่ปุ่น ซึ่งปราสาทนิชิโอะก็เป็นหนึ่งในนั้น จึงได้มีการสร้างปราสาทขนาดใหญ่เช่นนี้ขึ้นในพื้นที่ดังปัจจุบัน

ปราสาทได้ถูกทิ้งร้างในปี 1872 ทำให้อาคารส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย ในปี 1561 ข้าราชบริพารของโทคุกาวะ อิเอยาสึนามว่า ซาคาอิ มาซาจิคะ ได้รับชัยชนะเหนือปราสาทนี้ ต่อมาในปี 1585 อิเอยาสึจึงได้สั่งให้มีการขยายปราสาท โดยก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นฐานบัญชาการทางตอนใต้ของภูมิภาคนิชิมิคาวะ (Nishimikawa) และได้มีการขยายปราสาทให้ใหญ่ยิ่งขึ้นในสมัยของทานากะ โยชิมาสะ ถัดมาในสมัยเอโดะ เมืองที่ตั้งอยู่รอบปราสาทก็ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้การปกครองของผู้ครองปราสาทแต่ละตระกูลอย่างตระกูลฮนดะ ตระกูลมัตสึไดระ ตระกูลโอตะ ตระกูลอิอิ ตระกูลมาสุยามะ ตระกูลโดอิ และตระกูลมิอุระ

ในปี 1764 เมื่อเข้าสู่ช่วงที่มัตสึไดระ โอกิวได้ขึ้นมาเป็นผู้ปกครองเมืองนิชิโอะ (ไดเมียว) เมืองก็ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในฐานะที่เป็นเมืองรอบปราสาทที่มีผลผลิตข้าว 60,000 โคคุ (หน่วยนับปริมาณในอดีตเทียบเท่าประมาณ 180.4 ลิตร)

ในเดือนมีนาคม ปี 1996 ป้อมฮนมารุอุชิโทระยากุระ (ป้อมปราการ) และประตูจูจาคุมงซึ่งอยู่ในพื้นที่ของซากปราสาทนิชิโอะก็ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ และได้รับการทำนุบำรุงให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมืองนิชิโอะ (Nishio City Historical Park) ถัดมาในปี 2020 หอคอยเท็นชูคาคุก็ได้รับการฟื้นฟู จากนั้น “ป้อมปราการนิโนะมารุโนะอุชิโทระ” และกำแพงดินที่เรียกว่า “เบียวบุโอเระ (มีรูปร่างเหมือนฉากกั้นแบบพับได้) ก็สร้างเสร็จสมบูรณ์ ที่นี่จึงกลายเป็นสถานที่ยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวที่สามารถมาสัมผัสวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองนิชิโอะได้


ที่อยู่231-1 Kinjo-cho, Nishio City
เบอร์โทร0563-54-6758 (อดีตที่พำนักของตระกูลโคโนเอะ)
ปิดแล้วสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสวนสาธารณะปิดทุกวันจันทร์ (เปิดเมื่อวันจันทร์เป็นวันหยุดประจำชาติหรือวันหยุดชดเชย) และตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม ถึง 3 มกราคมของปีถัดไป
*เดินได้อย่างอิสระภายในสวนสาธารณะได้ตลอดเวลา
ค่าเข้าชมไม่คิดเงิน

อดีตที่พำนักของตระกูลโคโนเอะ (Former Konoe Residence)

ที่นี่คืออดีตที่พำนักของตระกูลโคโนเอะซึ่งเป็นขุนนางในเกียวโต เรามีและบริการเสิร์ฟชามัทฉะให้ทุกท่านที่มาเยือน อดีตที่พำนักของตระกูลโคโนเอะ (ที่พำนักสำหรับขุนนางในราชสำนัก) เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่อาศัยของตระกูลโคโนเอะ ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมพิธีชงชาที่นี่ ภายในประกอบด้วยอาคาร 2 หลัง คือห้องชงชา และห้องรับรองแขก ซึ่งทั้งสองอาคารย้ายมาจากเกียวโตในปี 1995 ที่ห้องรับรองแขกท่านสามารถเพลิดเพลินกับชาเขียวมัทฉะ และทิวทัศน์ของสวนญี่ปุ่นได้ (ชามัทฉะราคา 500 เยน ที่เสิร์ฟพร้อมขนมญี่ปุ่นตามฤดูกาล)
เบอร์โทร0563-54-6758
เวลาทำการ9:00-18:00 น. (ตุลาคม-มีนาคม 17:00 น.)
วันหยุดวันจันทร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) และ 29 ธันวาคม~ 3 มกราคมของปีถัดไป (เมื่อจองเป็นการส่วนตัว)
ค่าธรรมเนียม[ค่าเข้าชม] ฟรี
[มัทฉะ] 500 เยน (พร้อมขนมญี่ปุ่น)
ไวไฟไวไฟฟรี

พิพิธภัณฑ์เมืองนิชิโอะ

พิพิธภัณฑ์เมืองนิชิโอะเปิดให้ใช้บริการในเดือนสิงหาคม 1977 ภายในพื้นที่บริเวณปราสาทนิชิโอะ มีคอลเลกชั่นมากมายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของพื้นที่บริเวณนี้ในสมัยเอโดะ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้นับเป็นสถานที่สำหรับค้นคว้า และวิจัยเอกสารโบราณที่ได้มาจากการขุดค้น เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์บริเวณนี้ต่อไป


เบอร์โทร0563-56-6191
เวลาทำการ9:00-17:00 น
วันหยุดวันจันทร์ (ยกเว้นวันหยุดประจำชาติ)
29 ธันวาคม~ 3 มกราคมของปีถัดไป และในช่วงที่มีการเปลี่ยนนิทรรศการ
ค่าเข้าชมฟรี
ไวไฟไวไฟฟรี

โชโกโซ (Shokoso)

โชโกโซ เป็นสวนสไตล์เกียวโตที่สร้างขึ้นในช่วงต้นยุคโชวะ โดยใช้ซากหอสังเกตการณ์ฮิกาชิ โนะ นิชิโอะโจ ในการก่อสร้าง ในสวนที่น่าหลงใหลแห่งนี้ มีศาลาบนเนินเขาที่มองเห็นทั้งสวน และสวนหินญี่ปุ่นที่ให้บรรยากาศอันหลากหลาย


ที่อยู่176-1 Kinjo-cho, Nishio City
เบอร์โทร0563-53-0380
วันหยุด9:00-18:00 น. (ตุลาคม-มีนาคม 17:00 น.)
*สวนสามารถจองแบบส่วนตัวได้ถึงเวลา 21:00 น.
วันหยุดวันจันทร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) และวันที่ 29 ธันวาคมถึง 3 มกราคมของปีถัดไป
ค่าเข้าชมฟรี

วัดโคเซนจิ (นิกายโซโต)

ในปีที่ 5 ของยุคโอเออิ (1398) ฮาจิมันโรคุโบะที่อยู่ใกล้กับวัดมิทสุรุกิ ฮาจิมังกู ในชากาโดะ และไดนิจิโดะ ซึ่งอยู่ในบริเวณปราสาทนิชิโอะ ได้ถูกย้าย และสร้างขึ้นใหม่เป็นชื่อวัดคิระซัง มันเซนจิ ซึ่งได้รับการบูรณะโดยพระภิกษุต่างชาติ โคไกโจกุ เซนจิ ว่ากันว่าตระกูลคิระซึ่งเป็นเจ้าเมืองคิระ โนะ โซ ในเวลานั้น ก็อุทิศตนในการดูแลวัดเช่นกัน ในปีที่ 9 ของยุคเทนโช (1581) ซึ่งเป็นช่วงที่ซาคาอิ ชิเกะทาดะเป็นเจ้าของปราสาทนิชิโอะนั้น โทกุกาวะ อิเอยาสุ ได้เข้ามาพักที่วัดแห่งนี้ระหว่างทางไปยังหมู่บ้าน เขาได้มอบตัวอักษรจากชื่อของตัวเองให้วัด และวัดจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น นิชิโอะซัง โคเซนจิ และต่อมาในปี 1913 เมื่อปราสาทนิชิโอะได้รับการขยาย วัดแห่งนี้จึงถูกย้ายไปอยู่ในพื้นที่ปราสาทนิชิโอะ และกลายเป็นวัดนิกายเซนประจำปราสาท


ที่อยู่36 Manzencho, Nishio City

วัดโชซันจิ นิกายชินกอน (Shozanji Temple)

ในปี ค.ศ. 1748 มิอุระ โยชิซาโตะ ผู้ปกครองปราสาทนิชิโอะ ได้สร้างห้องโถงชั่วคราว (ณ ตําแหน่งปัจจุบัน) และเรียกตั้งชื่อว่า ‘อากิบาโบะ’ ว่ากันว่าท่านสามารถตรวจสอบดวงความโชคดี และโชคร้ายได้ตามน้ำหนักของรูปปั้น ดาคิมาคุระ ไดชิ ซึ่งตั้งอยู่ถัดจากห้องโถงใหญ่ของวัดโชซันจิ หากท่านสามารถยกรูปปั้นขึ้นได้อย่างเบาสบาย คำอธิษฐานของท่านจะเป็นจริง ในช่วงเทศกาลปาถั่วเซ็ตสึบุน มีชายหนุ่ม และหญิงสาวจำนวนมากไปสักการะที่วัด ท่านจะได้เห็นประเพณีปาถั่วทั้งภายใน และภายนอกห้องโถงใหญ่ เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย


ที่อยู่21 Kawaramachi, Nishio City

ซากประตูเทนโนมอน
(Tennomon Gate Ruin)

ซากประตูเทนโนมอนคือหนึ่งในห้าประตูของปราสาทนิชิโอะ ด้านในของประตูอยู่ใกล้กับสี่แยกทางทิศตะวันออกของประตูโอโทริอิขนาดใหญ่ของศาลเจ้าอิบุน มีประตูที่ตั้งอยู่ใกล้กับด้านหน้าของศูนย์ชุมชนที่ทางเข้าโอคาซากิคือประตูโคไรมอน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกจะมีระดับความสูงต่ำกว่าหนึ่งขั้น ท่านจึงสามารถเห็นขอบเขตของปราสาทได้

ซากประตูโอปปะมอน
(Oppa-mon Gate Ruin)

กล่าวกันว่าซากประตูโอวะเป็นประตูสองชั้นอันโอ่อ่าซึ่งเป็นประตูหน้าของนิชิโอะ และยังเป็นหนึ่งในห้าประตูของปราสาทนิชิโอะที่ถูกเรียกว่าประตูขับไล่ ‘โอะฮาไร มอน’ อีกด้วย จวบจนยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังคงมีถนนที่เลี้ยวเป็นมุมฉากถึง 3 ครั้งเหมือนในสมัยโจกามาจิ


ศาลเจ้าอิบุน (Ibun Shrine)

ศาลเจ้าอิบุนเป็นศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในทิศทางของประตูปีศาจทางใต้ของปราสาทนิชิโอะ ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประตูเทนโนมอน ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกว่า อิโมะยามะ โกซึ เทนโนฉะ ศาลเจ้าประจำหมู่บ้านในนิชิโอะแห่งนี้ ได้รับการเคารพบูชาจากผู้ปกครองปราสาทนิชิโอะ รวมถึงชาวเมืองทั่วไป นอกจากนี้ในสมัยเอโดะ ยังได้รับพื้นที่ขนาด 18 โคคุ และ 5 โตะ (หน่วยวัดโบราณตามการผลิตข้าว) เพิ่มขึ้นมาให้เป็นพื้นที่ของวัด ถึงแม้ว่าปัจจุบันหน้าผาทางทิศตะวันออก และทิศเหนือของเขต ซึ้งเป็นที่ตั้งของคูเมืองด้านนอกของปราสาทนิชิโอะ จะกลายเป็นลานจอดรถไปแล้ว แต่ในอดีตนั้นเคยเป็นสระบัวจนถึงประมาณปีโชวะที่ 30 (1955)


ที่อยู่17 Ibuncho, Nishio City

วัดเมียวมันจิ นิกายฮกเกะ (Myomanji Temple)

วัดแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1565 โดย โทมินากะ ทาดายาสึ และตั้งอยู่ในหมู่บ้านอุไกเกะ ในปีที่สองของคาเนอิ (1625) แม่นมของโทชิตสุกุ ฮอนดะ ผู้ปกครองปราสาทนิชิโอะ มีความเชื่อศรัทธาที่ลึกซึ้งกับวัดแห่งนี้ จนทำให้เจ้าปราสาทเลื่อนวัดไปยังศาลเจ้าอิบุน เพื่อให้เธอสะดวกในการเดินทางไปสักการะที่วัดมากขึ้น ต่อมาในปีที่ 2 ของยุคโนะจิมันจิ (1659) มาซาโตชิ มาสุยามะ เจ้าแห่งปราสาทนิชิโอะได้กําหนดให้วัดนี้เป็นวัดประจำตระกูลของเขา และย้ายวัดไปยังที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัดเดิมมีพื้นที่แคบเกินไป ภายในวัดมีหลุมฝังศพของสมาชิกตระกูลนิชิโอะเป็นจํานวนมาก


ที่อยู่40 Ogyucho, Nishio City

วัดเซกันจิ นิกายโชโต (Seiganji Temple)

ด้วยเหตุที่ต้องจัดพิธีรำลึกถึงท่านปู่ และบิดาที่ถึงแก่กรรมไป อิเอโนริ ทายาทรุ่นที่ 6 ของตระกูลโอกิวมัตสึไดระ จึงถือโอกาสนี้ย้ายเข้ามาอยู่ที่ปราสาทนาวะ มณฑลโคซุเกะ (เมืองอิเซซากิในปัจจุบัน) และได้เริ่มสร้างวัดในพื้นที่นี้ เนื่องจากตระกูลมัตสึไดระมักโดนสั่งให้ย้ายอาณาเขตการปกครองไปเรื่อย ๆ ทำให้วัดที่สร้างต้องย้ายที่ตั้งตามไปในหลาย ๆ แห่งอย่างเมืองมิโนะเป็นต้น จนในปี 1764 เมื่อโนริสุเกะ ทายาทรุ่นที่ 11 ได้มาเป็นผู้ปกครองนิชิโอะ วัดจึงถูกย้ายจากเดวะ (จังหวัดยามากาตะในปัจจุบัน) มาตั้งที่ในพื้นที่ปัจจุบัน ที่นี่นอกจากสุสานของมัตสึไดระ โนริยาสึ ผู้ปกครองนิชิโอะแล้ว ยังมีอนุสาวรีย์หินจารึกของทาคาฮาชิ มิซึโกะ แพทย์หญิงคนที่ 3 ของญี่ปุ่นอีกด้วย


ที่อยู่70 Babacho Nishio City

วัดจิสโซจิ (Jissoji Temple)

กล่าวกันว่าวัดจิสโซจิซึ่งเป็นวัดประจำตระกูลคิระผู้เป็นเจ้าปกครองปราสาทไซโจนั้นสร้างขึ้นโดยอาชิคากะ (คิระ) มิตสึจิ ในปี 1271 เพื่อเป็นวัดประจำตระกูลคิระในยุคกลางซึ่งถือเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งไซโจ คฤหาสถ์ของคิระนั่นเอง เพื่อต้อนรับการมาถึงของโชอิจิ โคคุชิ (เอ็นนิ เบ็นเอ็น) วัดพุทธอันตระการตาแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นโดยมีต้นแบบจากภาพวัดเคียวซันจิที่ประเทศจีน และเจริญรุ่งเรืองในฐานะวัดอันโคคุจิแห่งมิคาวะ จนปี 1546 ไทเก็น เซ็สไซซึ่งเป็นพลทหารชื่อดังของอิมากาวะ โยชิโมโตะเข้ามา ก็ได้เปลี่ยนฝ่ายเป็นนิกายเมียวชินจิ หลังจากนั้นว่ากันว่าวัดจำนวนมากได้เสียหายจากไฟไหม้จากการทำสงครามกับตระกูลโอดะ โบสถ์ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือฉะคะโด (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของจังหวัด) ซึ่งถูกล้อมรอบไปด้วยป่ามิคาวะคุโรมัตสึอันงดงาม (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของเมือง) สร้างขึ้นในสมัยมุโรมาจิ ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเมษายนในทุก ๆ ปีจะมีการจัด “เทศกาลพระพุทธเจ้าโอฉะคะซัง” (เทศกาลดอกไม้) จึงคับคั่งไปด้วยผู้ที่เดินทางมากราบสักการะจำนวนมาก และในวันนี้จะมีการเปิดให้ผู้คนทั่วไปได้เข้าชมพระพุทธรูปฉะคะซันซน (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของจังหวัด) และรูปปั้นองค์เทพชิเท็นโน (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของเมือง) ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในโบสถ์เป็นกรณีพิเศษ ภายในบริเวณวัดยังมีมรดกทางวัฒนธรรมที่บอกเล่าถึงความรุ่งเรืองของวัดจิสโซจิในยุคกลางเป็นจำนวนมากอย่างระฆังฮาจิโยะ โฮตาคุกาตะ บนโชซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากระฆังของจีน (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของจังหวัด) และรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมเนียวอิรินปางนั่งซึ่งเป็นพระประธานของกุฏิเจ้าอาวาสวัด (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของเมือง) อีกทั้งกุฏิเจ้าอาวาสและโรงครัวของวัดยังได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของเมืองในฐานะที่เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ยังคงหลงเหลือรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนิกายเซนในสมัยเอโดะให้ได้เห็นอีกด้วย


ที่อยู่15 Shimoyashiki, Kami-machi, Nishio City

วัดโคจูอิน (Kojuin Temple)

วัดโคจูอินเป็นวัดที่สร้างโดยพระอาดาจิ จุนโดซึ่งเป็นผู้ริเริ่มนิชิโอะมัทฉะ (Nishio Matcha) และเป็นวัดพุทธนิกายโจโด กล่าวกันว่าในยุคไทเอ (1521-1528) ท่านป้าของโทคุกาวะ อิเอยาสึได้ถึงแก่กรรม จึงได้มีการสร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึก อีกทั้งวัดนี้ยังมีชื่อเสียงในฐานะ “วัดของผู้ริเริ่มการปลูกชา” ที่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตชาแพร่หลายไปทั่วนิชิโอะ ในปีเมจิที่ 5 (1872) อาดาจิ จุนโด ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโคจูอินต้องการที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตชาจึงไปนำเมล็ดชาจากเมืองอูจิ (Uji) จังหวัดเกียวโต (Kyoto) มาแล้วเปิดไร่ชาขึ้น จากนั้นในปีเมจิที่ 12 (1879) ก็ได้ไปเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านชามาจากเมืองจิตะ (Chita) จึงได้เริ่มการผลิตชาตั้งแต่นั้นมา การเพาะปลูกชาซึ่งได้กลายเป็นอุตสาหกรรมการผลิตก็ได้ถูกสืบทอดไปทั่วทั้งเขตนิชิโนมาจิ (Nishinomachi) จนต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็นแหล่งผลิตมัทฉะอันดับต้น ๆ ของญี่ปุ่น ภายในบริเวณวัดจะมีต้นชาต้นแรกของนิชิโอะ และอนุสาวรีย์เชิดชูจุนโดที่สร้างขึ้นตรงทางเข้าวัดในปีไทโชที่ 2 (1913) อีกด้วย ในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีจะมีการจัดงาน “โฮโคคุไซ” ซึ่งจะรายงานผลประกอบการ และถวายน้ำชาแก่เทพเจ้าเพื่อเป็นการสรรเสริญในคุณงามความดีของจุนโด


ที่อยู่83 Hamayashiki, Kami-machi, Nishio City

ห้องสมุดอิวาเซะ บุนโคะ แห่งเมืองนิชิโอะ (Nishio City’s Iwase Bunko)

ห้องสมุดอิวาเซะ บุนโคะ แห่งเมืองนิชิโอะซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์หนังสือเก่าที่ถือเป็นตัวแทนของญี่ปุ่นนั้นได้ถือกำเนิดจากการเป็นห้องสมุดเอกชนที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปีเมจิที่ 41 (1908) โดยอิวาเซะ ยูสุเกะ นักธุรกิจในตำบลซุดะโจ (Sudacho) เมืองนิชิโอะ (Nishio) จากความตั้งใจที่จะสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมผ่านทางหนังสือ ภายหลังสงคราม ห้องสมุดแห่งนี้จึงได้กลายมาเป็นห้องสมุดประจำเมืองนิชิโอะ และได้รับการปรับปรุงเป็น “พิพิธภัณฑ์หนังสือเก่า” แห่งแรกของญี่ปุ่นในเดือนเมษายน ปี 2003 ทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนในวันที่ 7 ธันวาคม 2007 โดยครบรอบวันก่อตั้ง 100 ปี ไปเมื่อในวันที่ 6 พฤษภาคม 2008 ที่นี่ได้เก็บรักษาและเผยแพร่หนังสือราว 80,000 เล่มจากหลากหลายสาขาวิชา และจากหลายยุคสมัย ตั้งแต่หนังสือโบราณซึ่งรวมไปถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ไปจนถึงหนังสือที่ใช้ได้จริงในยุคปัจจุบัน ทั้งยังมีการจัดนิทรรศการที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ทำให้ผู้มาเยี่ยมชมจะได้เรียนรู้พลางสัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับวัฒนธรรมอันหลากหลายและประวัติศาสตร์อันยาวนานของญี่ปุ่นอีกด้วย


ที่อยู่480 Kamezawa-cho Nishio-City
เบอร์โทร0563-56-2459
เวลาทำการ9:00-17:00 น. (เอกสารดูได้จนถึง 16:00 น.)
วันปิดทำการMondays (If Monday is a national holiday, consecutive holidays on Mondays and Tuesdays)
New year holiday season
ค่าเข้าชมฟรี

ต้นซากุระแม่น้ำมิโดริ

ในปีที่ 15 ของยุคไทโช (1923) ถนนบริเวณนี้ได้รับการพัฒนาโดยมีการจัดระเบียบพื้นที่เพาะปลูกต้นไม้ใหม่ จึงมีการปลูกต้นซากุระเรียงรายตามแม่น้ำมิโดริ ปัจจุบันมีต้นซากุระประมาณ 250 ต้น และในช่วงฤดูใบไม้ผลิของทุกปีจะมีการจัดเทศกาลชมดอกซากุระขึ้นที่บริเวณนี้ นอกจากนี้ยังได้รับการพัฒนาให้เป็นลานคอมมูนิตี้ให้คนท้องถิ่นได้มาพักผ่อนหย่อนใจกันอีกด้วย

วัดเอ็นชินจิ นิกายโจโดะ (Enshinji Temple)

ในปี 1602 ยาสึโทชิ ฮอนดะ ผู้ปกครองปราสาทนิชิโอะ ได้สร้างวัดเอ็นชินจิ ขึ้นเพื่อระลึกถึงซากาอิ ทาดาทสึกุ ผู้เป็นบิดาของเขา ในปี 1617 หลังจากที่ยาสึโทชิ ย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่เซเซะ จังหวัดโอมิ (จังหวัดชิกะ ในปัจจุบัน) วัดก็ได้รับการย้ายตำแหน่งไปอยู่ที่นั่นด้วยเช่นกัน ต่อมาเมื่อโทชิทสึกุลูกชายของยาสึโทชิ กลายเป็นผู้ปกครองปราสาทนิชิโอะ วัดก็ได้รับการสร้างขึ้นใหม่ ณ ตำแหน่งปัจจุบัน วัดแห่งนี้มีความเชื่อที่ว่า หากผู้หญิงที่กำลังจะคลอดบุตรมาอธิษฐานขอพรจากรูปปั้นจิโซะในห้องโถงใหญ่ เธอจะคลอดบุตรอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีหลุมฝังศพของ วาคาบายาชิ คิโซเบ ผู้เป็นซามูไรปกครองนิชิโอะ โดยมีความเชื่อว่าหากนำสาเกมาถวาย จะช่วยบรรเทาอาการร้องไห้ของเด็กในตอนกลางคืนได้


ที่อยู่56 Nakamachi, Nishio City

วัดเซอุนจิ นิกายโจโดะ
(Seiunji Temple)

เดิมวัดแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า “โฮโคโบะ” และเป็นหนึ่งในหกวัดย่อยของศาลเจ้าฮาจิมังกูซึ่งตั้งอยู่ภายในปราสาท และกล่าวกันว่าวัดแห่งนี้เป็นของนิกายชินกอน ในปีไทโชที่ 8 (1919) มีการสร้างประตูวัดหลายชั้นอันสวยงามน่าประทับใจ ภายในบริเวณวัด มีอิบุกิซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานทางธรรมชาติของเมือง และหลุมฝังศพของทานากะ นากามิเนะบุคคลสำคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมในยุคเมจิ


ที่อยู่54 Nakamachi, Nishio City

โอโมเตะ โรคุเกะมาจิ
(Omote-Rokugemachi)

โอโมเตะ โรคุเกะมาจิ หมายถึงย่านการค้าที่โดดเด่นหกแห่งในเมืองปราสาทนิชิโอะ ได้แก่ ฮอนมาจิ นากามาจิ สุดามาจิ โยโคมาจิ (ไซวาอิมาจิ) เทนโนมาจิ และซากานามาจิ ในช่วงเทศกาลกิองของศาลเจ้าอิบุนจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองโดยมีถนนเหล่านี้เป็นศูนย์กลาง


ถนนซากานามาจิ โดริ
(Sakana Machi Street)

ถนนซากานามาจิ โดริ เป็นย่านช้อปปิ้งที่มีการขายของใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสนับสนุนการค้าขายให้ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองปราสาท ในช่วงต้นยุคโชวะ มีการขยายถนนให้มีขนาดกว้างขวางขึ้น ทำให้รูปลักษณ์เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง แต่ในส่วนพื้นที่ใกล้กับตระกูลฮิราอินั้นยังคงรักษาบรรยากาศของยุคเมืองปราสาทไว้ได้ดี นอกจากนี้ในเดือนกรกฎาคม ยังมีการเดินขบวนแห่ไดเมียว ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีกรรมของเทศกาลกิองที่ศาลเจ้าอิบุน (กิจกรรมนี้จัดเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของเมือง)

ถนนจุนไค มาจิ
(Junkai-machi Street)

ถนนเส้นนี้เป็นเส้นทางเล็ก ๆ ที่ทอดจากเทนโน-มาจิ ไปยังซาคานะ-มาจิ กล่าวกันว่าชื่อ “จุนไม-มาจิ” มีที่มาจากเจ้าอาวาสจุนไมแห่งวัดยูโฮจิซึ่งเป็นผู้บุกเบิกเส้นทางนี้ ถนนสายนี้ยังคงรักษารูปลักษณ์ของเมืองปราสาทไว้ได้อย่างน่าประทับใจ


วัดยุยโฮจิ นิกายชินชู
(Yuihoji Temple)

วัดแห่งนี้ได้รับการย้ายที่ตั้งมายังตำแหน่งปัจจุบันโดยนักบวชชื่อว่าจุนไคจินในช่วงยุคคันเออิ (1624-44) ในช่วงสมัยเมจิ หัวหน้านักบวชเซ็นบุ คันเซ็น ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลมหาวิทยาลัย โจโด ชินชู (ประธาน) และได้ให้การศึกษาแก่นักศึกษาจำนวนมาก


ที่อยู่12 Junkaimachi, Nishio City

ซากปรักหักพังโชดามอน
(Choda Gate Ruin)

ซากปรักหักพังโชดามอนตั้งอยู่ค่อนไปทางทิศตะวันออกของพื้นที่ที่เข้าสู่ไคเซมาจิจากถนนชูโอซึ่งเชื่อมต่อกับฮอนมาจิและอิซุมิมาจิ ซึ่งในปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยในอดีตอีกแล้ว


  • เหน้าบนสุด
  • เมืองนิชิโอะคือ...?
  • การท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
  • ทัวร์กิจกรรม
  • เทศกาล
  • ชามัทฉะ
  • ปลาไหล
  • การกลั่น และหมัก
  • วิธีการเดินทาง