“นิชิโอะ” ลิตเติ้ลเกียวโตแห่งมิคาวะ (Mikawa’s Little Kyoto “Nishio”)
ในปี 1561 โทคุกาวะ อิเอยาสึ (ผู้นำคณะรัฐบาลโชกุนบาคุฟุชุดสุดท้ายของญี่ปุ่น) ได้แต่งตั้งข้าราชบริพารคนหนึ่งให้มาเป็นเจ้าผู้ครองปราสาทนิชิโอะ และให้ปกครองเมืองนิชิโอะ (Nishio) ที่รุ่งเรืองในฐานะที่เป็นเมืองรอบปราสาทที่สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้มากถึง 60,000 คาคุ (หน่วยนับปริมาณข้าวในอดีต)
เมืองนิชิโอะมีศิลปะแบบดั้งเดิม และวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองซึ่งสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันผ่านงานเทศกาลอย่างงานไดเมียวเกียวเรตสึ หรือศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิม อย่างที่สามารถพบได้ตามวัดดังที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน
ทุกท่านลองจินตนาการว่าตนเองเป็นเจ้าหญิง หรือซามุไรที่เดินเล่นรอบเมืองกันดูบ้างไหม
ความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเกียวโต
นิชิโอะ (Nishio) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่รอบปราสาทซึ่งเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยสงครามเซ็นโกคุเป็นต้นมา ถือเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางตอนใต้ของนิชิมิคาวะ(Nishimikawa) ในปี 1764 โอกิวมัตสึไดระก็ได้ย้ายเข้ามาปกครองปราสาท และทำให้เกิดการพัฒนาการปลูกข้าว 60,000 คาคุ (หน่วยนับปริมาณในอดีตเทียบเท่าประมาณ 180.4 ลิตร) ภายในเมืองมีวัดโชเอนจิ (Choenji) ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นวัดของบรรพบุรุษตระกูลอิตาคุระอย่าง อิตาคุระ คัตสึชิเกะ อิตาคุระ ชิเกมุเนะ และอิตาคุระ ชิเกโนริซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าการเมืองเกียวโต ส่วนผลงานที่มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมเกียวโตก็จะมีผลงานของโรงเรียนศิลปะคาโนะภาพวาดหญิงสาวของภิกษุโชคะโด งานเขียนของโคโบริ เอนชู อิชิคาวะ โจซัน และฮนอามิ โคเอตสึ
ในเดือนสิงหาคมของทุก ๆ ปี จะมีการจัดเทศกาล “คากิมันโต” (Kakimanto) ขึ้นที่ภูเขามันโต เทศกาลนี้เป็นเทศกาลโอบ้งที่มีลักษณะคล้ายกันกับเทศกาลโกซัง โอคุริบิ (Gosan Okuribi) ของเกียวโต หรือที่รู้จักกันในชื่อเทศกาลไดมนจิยากิ (Daimonjiyaki) ซึ่งเป็นเทศกาลที่จะจุดไฟเป็นรูปตัวอักษรจีนบนยอดเขาทั้ง 5 ในเมือง ถือเป็นอีกหนึ่งภาพจำของฤดูร้อนของที่นี่
กล่าวกันว่านิชิโอะมัทฉะ (Nishio Matcha) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สุดพรีเมี่ยมในท้องถิ่นนั้นเกิดจากการที่พระสงฆ์วัดจิสโซจินิกายเซนได้นำธรรมเนียมการดื่มชาเข้ามา นิชิโอะมัทฉะเป็นที่ชื่นชอบของคนท้องถิ่นจำนวนมากในมืองนิชิโอะ บริเวณแม่น้ำมิโดริ (Midori) ที่ไหลผ่านตัวเมืองมีต้นซากุระปลูกเรียงรายริมสองฝั่งแม่น้ำ จึงกลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในท้องถิ่น และสะพานข้ามแม่น้ำสายนี้ยังมีชื่อที่น่าสนใจว่า สะพานนิโจ (Nijo) สะพานซันโจ (Sanjo) และสะพานชิโจ (Shijo) อีกด้วย
ในปี 1995 นิชิโอะได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกของสมาคมเกียวโตแห่งญี่ปุ่นโดยมีจุดประสงค์เพื่อสืบค้นวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของนิชิโอะอีกครั้ง เมืองนี้จึงเรียกตนเองว่า ลิตเติ้ลเกียวโตแห่งมิคาวะ/นิชิโอะ (Mikawa’s Little Kyoto/Nishio)
นิชิโอะมัทฉะ(Nishio Matcha)
ว่ากันว่า นิชิโอะมัทฉะ (Nishio Matcha) ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อประจำพื้นที่แถบนี้ถูกนำเข้ามาโดยพระสงฆ์วัดจิสโซจินิกายเซนในปี 1271 ส่วนการเพาะปลูกชาแบบอุตสาหกรรมเริ่มต้นในสมัยเมจิจากการแนะนำของอาดาจิ จุนจิที่นำเมล็ดชาจากอุจิเข้ามา
สีเขียวเข้ม กลิ่นหอมแบบมีระดับ และรสชาติละมุนกลมกล่อมของนิชิโอะมัทฉะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากผืนดืนที่อุดมสมบูรณ์ และหมอกที่เกิดจากแม่น้ำยาฮากิ (Yahagi) ผงชาเท็นฉะ (Tencha) ของนิชิโอะเป็นวัตถุดิบในการทำมัทฉะที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นเลยทีเดียว
แร่ไมก้าแห่งภูเขายัทสึโอโมเทะยามะ (Yatsuomoteyama)
พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางการผลิตแร่ไมก้ามาตั้งแต่อดีต ประมาณปี 712 แร่ไมก้าจากภูเขายัทสึโอโมเทะยามะได้รับการนำไปถวายต่อราชสำนักในฐานะ “โช” (หนึ่งในประเภทของภาษีจักรวรรดิ) ในช่วงสมัยเอโดะ (1603-1868) แร่ไมก้าถูกขุดขึ้นมาใช้ในปริมาณมาก แต่ต่อมาเหมืองก็ถูกทิ้งร้างในสมัยเมจิ (1868-1912)
ถึงแม้ในปัจจุบันเหมืองจะถูกปิดตัวไปแล้วแต่ทุกท่านสามารถมองเห็นได้จากบริเวณทางทิศเหนือของภูเขา
วัดโชเอนจิ (Choenji)
ที่อยู่ | 101 Kaifukucho, Nishio City |
---|
งานเทศกาลปล่อยโคมคากิมันโตะ “Kagimanto”
ในช่วงเทศกาลฤดูร้อนโอบงจะมีการนำโคมรูปนกสุซึมิ 108 ตัว ไปวางเรียงเป็นรูปตะขอทางฝั่งตะวันตกของภูเขามันโตยามะ และเมื่อถึงคืนวันที่ 14 สิงหาคม จะมีการจุดไฟขึ้น ว่ากันว่าในอดีตได้เกิดการต่อสู้กันระหว่างพระนักรบอาซาอิ เซ็นโบ และ สุมิ เซ็นโบ บนภูเขาลูกนี้ ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมมีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ต่อมาเลยมีการสร้างสถานที่ฝังศพที่เรียกว่า “เซ็นนินทสึกะ” และเกิดเป็นเทศกาลจุดโคมไฟเพื่อไว้อาลัยให้กับดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตในสงครามงานเทศกาลนี้สามารถมองเห็นได้จากระยะไกลตั้งแต่ชายฝั่งชิตะ รวมถึงพื้นที่บริเวณนิชิมิคาวะ มีผู้คนมากมายมาชมบรรยากาศยามเย็น และคนท้องถิ่นที่นี่เชื่อกันว่าจะสามารถทำนายเรื่องการเก็บเกี่ยวได้โดยดูจากความสวยงามของไฟในงาน
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองนิชิโอะ (ปราสาทนิชิโอะ) Nishio City Historical Park (Nishio Castle)
สมัยคามาคุระในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 13 นิชิโอะ (Nishio) ซึ่งเดิมมีชื่อว่าคิระโซได้ถูกปกครองโดยตระกูลอาชิคากะ (คิระ)
กล่าวกันว่าภายหลัง “สงครามปีโจคิว” สิ้นสุด อาชิคากะ โยชิอุจิก็ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหาร (ชุโก) จากการที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เจ้าตัวจึงได้แต่งตั้งให้โอซาอุจิ บุตรชายคนโตของตนเป็นเจ้าผู้ครองที่ดิน (จิโต) และก่อตั้งฐานบัญชาการใกล้ ๆ กันกับปราสาทนิชิโอะ หลัง “สงครามโอนิน” สิ้นสุดลงก็ได้มีการสร้างปราสาทขึ้นในหลาย ๆ แห่งในญี่ปุ่น ซึ่งปราสาทนิชิโอะก็เป็นหนึ่งในนั้น จึงได้มีการสร้างปราสาทขนาดใหญ่เช่นนี้ขึ้นในพื้นที่ดังปัจจุบัน
ปราสาทได้ถูกทิ้งร้างในปี 1872 ทำให้อาคารส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย ในปี 1561 ข้าราชบริพารของโทคุกาวะ อิเอยาสึนามว่า ซาคาอิ มาซาจิคะ ได้รับชัยชนะเหนือปราสาทนี้ ต่อมาในปี 1585 อิเอยาสึจึงได้สั่งให้มีการขยายปราสาท โดยก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นฐานบัญชาการทางตอนใต้ของภูมิภาคนิชิมิคาวะ (Nishimikawa) และได้มีการขยายปราสาทให้ใหญ่ยิ่งขึ้นในสมัยของทานากะ โยชิมาสะ ถัดมาในสมัยเอโดะ เมืองที่ตั้งอยู่รอบปราสาทก็ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้การปกครองของผู้ครองปราสาทแต่ละตระกูลอย่างตระกูลฮนดะ ตระกูลมัตสึไดระ ตระกูลโอตะ ตระกูลอิอิ ตระกูลมาสุยามะ ตระกูลโดอิ และตระกูลมิอุระ
ในปี 1764 เมื่อเข้าสู่ช่วงที่มัตสึไดระ โอกิวได้ขึ้นมาเป็นผู้ปกครองเมืองนิชิโอะ (ไดเมียว) เมืองก็ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในฐานะที่เป็นเมืองรอบปราสาทที่มีผลผลิตข้าว 60,000 โคคุ (หน่วยนับปริมาณในอดีตเทียบเท่าประมาณ 180.4 ลิตร)
ในเดือนมีนาคม ปี 1996 ป้อมฮนมารุอุชิโทระยากุระ (ป้อมปราการ) และประตูจูจาคุมงซึ่งอยู่ในพื้นที่ของซากปราสาทนิชิโอะก็ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ และได้รับการทำนุบำรุงให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมืองนิชิโอะ (Nishio City Historical Park) ถัดมาในปี 2020 หอคอยเท็นชูคาคุก็ได้รับการฟื้นฟู จากนั้น “ป้อมปราการนิโนะมารุโนะอุชิโทระ” และกำแพงดินที่เรียกว่า “เบียวบุโอเระ (มีรูปร่างเหมือนฉากกั้นแบบพับได้) ก็สร้างเสร็จสมบูรณ์ ที่นี่จึงกลายเป็นสถานที่ยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวที่สามารถมาสัมผัสวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองนิชิโอะได้
ที่อยู่ | 231-1 Kinjo-cho, Nishio City |
---|---|
เบอร์โทร | 0563-54-6758 (อดีตที่พำนักของตระกูลโคโนเอะ) |
ปิดแล้ว | สิ่งอำนวยความสะดวกภายในสวนสาธารณะปิดทุกวันจันทร์ (เปิดเมื่อวันจันทร์เป็นวันหยุดประจำชาติหรือวันหยุดชดเชย) และตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม ถึง 3 มกราคมของปีถัดไป *เดินได้อย่างอิสระภายในสวนสาธารณะได้ตลอดเวลา |
ค่าเข้าชม | ไม่คิดเงิน |
อดีตที่พำนักของตระกูลโคโนเอะ (Former Konoe Residence)
เบอร์โทร | 0563-54-6758 |
---|---|
เวลาทำการ | 9:00-18:00 น. (ตุลาคม-มีนาคม 17:00 น.) |
วันหยุด | วันจันทร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) และ 29 ธันวาคม~ 3 มกราคมของปีถัดไป (เมื่อจองเป็นการส่วนตัว) |
ค่าธรรมเนียม | [ค่าเข้าชม] ฟรี [มัทฉะ] 500 เยน (พร้อมขนมญี่ปุ่น) |
ไวไฟ | ไวไฟฟรี |
พิพิธภัณฑ์เมืองนิชิโอะ
เบอร์โทร | 0563-56-6191 |
---|---|
เวลาทำการ | 9:00-17:00 น |
วันหยุด | วันจันทร์ (ยกเว้นวันหยุดประจำชาติ) 29 ธันวาคม~ 3 มกราคมของปีถัดไป และในช่วงที่มีการเปลี่ยนนิทรรศการ |
ค่าเข้าชม | ฟรี | ไวไฟ | ไวไฟฟรี |
โชโกโซ (Shokoso)
ที่อยู่ | 176-1 Kinjo-cho, Nishio City |
---|---|
เบอร์โทร | 0563-53-0380 |
วันหยุด | 9:00-18:00 น. (ตุลาคม-มีนาคม 17:00 น.) *สวนสามารถจองแบบส่วนตัวได้ถึงเวลา 21:00 น. |
วันหยุด | วันจันทร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) และวันที่ 29 ธันวาคมถึง 3 มกราคมของปีถัดไป |
ค่าเข้าชม | ฟรี |
วัดโคเซนจิ (นิกายโซโต)
ที่อยู่ | 36 Manzencho, Nishio City |
---|
วัดโชซันจิ นิกายชินกอน (Shozanji Temple)
ที่อยู่ | 21 Kawaramachi, Nishio City |
---|
ซากประตูเทนโนมอน
(Tennomon Gate Ruin)
ซากประตูเทนโนมอนคือหนึ่งในห้าประตูของปราสาทนิชิโอะ ด้านในของประตูอยู่ใกล้กับสี่แยกทางทิศตะวันออกของประตูโอโทริอิขนาดใหญ่ของศาลเจ้าอิบุน มีประตูที่ตั้งอยู่ใกล้กับด้านหน้าของศูนย์ชุมชนที่ทางเข้าโอคาซากิคือประตูโคไรมอน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกจะมีระดับความสูงต่ำกว่าหนึ่งขั้น ท่านจึงสามารถเห็นขอบเขตของปราสาทได้
ซากประตูโอปปะมอน
(Oppa-mon Gate Ruin)
กล่าวกันว่าซากประตูโอวะเป็นประตูสองชั้นอันโอ่อ่าซึ่งเป็นประตูหน้าของนิชิโอะ และยังเป็นหนึ่งในห้าประตูของปราสาทนิชิโอะที่ถูกเรียกว่าประตูขับไล่ ‘โอะฮาไร มอน’ อีกด้วย จวบจนยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังคงมีถนนที่เลี้ยวเป็นมุมฉากถึง 3 ครั้งเหมือนในสมัยโจกามาจิ
ศาลเจ้าอิบุน (Ibun Shrine)
ที่อยู่ | 17 Ibuncho, Nishio City |
---|
วัดเมียวมันจิ นิกายฮกเกะ (Myomanji Temple)
ที่อยู่ | 40 Ogyucho, Nishio City |
---|
วัดเซกันจิ นิกายโชโต (Seiganji Temple)
ที่อยู่ | 70 Babacho Nishio City |
---|
วัดจิสโซจิ (Jissoji Temple)
กล่าวกันว่าวัดจิสโซจิซึ่งเป็นวัดประจำตระกูลคิระผู้เป็นเจ้าปกครองปราสาทไซโจนั้นสร้างขึ้นโดยอาชิคากะ (คิระ) มิตสึจิ ในปี 1271 เพื่อเป็นวัดประจำตระกูลคิระในยุคกลางซึ่งถือเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งไซโจ คฤหาสถ์ของคิระนั่นเอง เพื่อต้อนรับการมาถึงของโชอิจิ โคคุชิ (เอ็นนิ เบ็นเอ็น) วัดพุทธอันตระการตาแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นโดยมีต้นแบบจากภาพวัดเคียวซันจิที่ประเทศจีน และเจริญรุ่งเรืองในฐานะวัดอันโคคุจิแห่งมิคาวะ จนปี 1546 ไทเก็น เซ็สไซซึ่งเป็นพลทหารชื่อดังของอิมากาวะ โยชิโมโตะเข้ามา ก็ได้เปลี่ยนฝ่ายเป็นนิกายเมียวชินจิ หลังจากนั้นว่ากันว่าวัดจำนวนมากได้เสียหายจากไฟไหม้จากการทำสงครามกับตระกูลโอดะ โบสถ์ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือฉะคะโด (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของจังหวัด) ซึ่งถูกล้อมรอบไปด้วยป่ามิคาวะคุโรมัตสึอันงดงาม (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของเมือง) สร้างขึ้นในสมัยมุโรมาจิ ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเมษายนในทุก ๆ ปีจะมีการจัด “เทศกาลพระพุทธเจ้าโอฉะคะซัง” (เทศกาลดอกไม้) จึงคับคั่งไปด้วยผู้ที่เดินทางมากราบสักการะจำนวนมาก และในวันนี้จะมีการเปิดให้ผู้คนทั่วไปได้เข้าชมพระพุทธรูปฉะคะซันซน (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของจังหวัด) และรูปปั้นองค์เทพชิเท็นโน (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของเมือง) ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในโบสถ์เป็นกรณีพิเศษ ภายในบริเวณวัดยังมีมรดกทางวัฒนธรรมที่บอกเล่าถึงความรุ่งเรืองของวัดจิสโซจิในยุคกลางเป็นจำนวนมากอย่างระฆังฮาจิโยะ โฮตาคุกาตะ บนโชซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากระฆังของจีน (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของจังหวัด) และรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมเนียวอิรินปางนั่งซึ่งเป็นพระประธานของกุฏิเจ้าอาวาสวัด (มรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของเมือง) อีกทั้งกุฏิเจ้าอาวาสและโรงครัวของวัดยังได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนของเมืองในฐานะที่เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ยังคงหลงเหลือรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนิกายเซนในสมัยเอโดะให้ได้เห็นอีกด้วย
ที่อยู่ | 15 Shimoyashiki, Kami-machi, Nishio City |
---|
วัดโคจูอิน (Kojuin Temple)
วัดโคจูอินเป็นวัดที่สร้างโดยพระอาดาจิ จุนโดซึ่งเป็นผู้ริเริ่มนิชิโอะมัทฉะ (Nishio Matcha) และเป็นวัดพุทธนิกายโจโด กล่าวกันว่าในยุคไทเอ (1521-1528) ท่านป้าของโทคุกาวะ อิเอยาสึได้ถึงแก่กรรม จึงได้มีการสร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึก อีกทั้งวัดนี้ยังมีชื่อเสียงในฐานะ “วัดของผู้ริเริ่มการปลูกชา” ที่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตชาแพร่หลายไปทั่วนิชิโอะ ในปีเมจิที่ 5 (1872) อาดาจิ จุนโด ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโคจูอินต้องการที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตชาจึงไปนำเมล็ดชาจากเมืองอูจิ (Uji) จังหวัดเกียวโต (Kyoto) มาแล้วเปิดไร่ชาขึ้น จากนั้นในปีเมจิที่ 12 (1879) ก็ได้ไปเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านชามาจากเมืองจิตะ (Chita) จึงได้เริ่มการผลิตชาตั้งแต่นั้นมา การเพาะปลูกชาซึ่งได้กลายเป็นอุตสาหกรรมการผลิตก็ได้ถูกสืบทอดไปทั่วทั้งเขตนิชิโนมาจิ (Nishinomachi) จนต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็นแหล่งผลิตมัทฉะอันดับต้น ๆ ของญี่ปุ่น ภายในบริเวณวัดจะมีต้นชาต้นแรกของนิชิโอะ และอนุสาวรีย์เชิดชูจุนโดที่สร้างขึ้นตรงทางเข้าวัดในปีไทโชที่ 2 (1913) อีกด้วย ในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีจะมีการจัดงาน “โฮโคคุไซ” ซึ่งจะรายงานผลประกอบการ และถวายน้ำชาแก่เทพเจ้าเพื่อเป็นการสรรเสริญในคุณงามความดีของจุนโด
ที่อยู่ | 83 Hamayashiki, Kami-machi, Nishio City |
---|
ห้องสมุดอิวาเซะ บุนโคะ แห่งเมืองนิชิโอะ (Nishio City’s Iwase Bunko)
ที่อยู่ | 480 Kamezawa-cho Nishio-City |
---|---|
เบอร์โทร | 0563-56-2459 |
เวลาทำการ | 9:00-17:00 น. (เอกสารดูได้จนถึง 16:00 น.) |
วันปิดทำการ | Mondays (If Monday is a national holiday, consecutive holidays on Mondays and Tuesdays) New year holiday season |
ค่าเข้าชม | ฟรี |
ต้นซากุระแม่น้ำมิโดริ
วัดเอ็นชินจิ นิกายโจโดะ (Enshinji Temple)
ที่อยู่ | 56 Nakamachi, Nishio City |
---|
วัดเซอุนจิ นิกายโจโดะ
(Seiunji Temple)
เดิมวัดแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า “โฮโคโบะ” และเป็นหนึ่งในหกวัดย่อยของศาลเจ้าฮาจิมังกูซึ่งตั้งอยู่ภายในปราสาท และกล่าวกันว่าวัดแห่งนี้เป็นของนิกายชินกอน ในปีไทโชที่ 8 (1919) มีการสร้างประตูวัดหลายชั้นอันสวยงามน่าประทับใจ ภายในบริเวณวัด มีอิบุกิซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานทางธรรมชาติของเมือง และหลุมฝังศพของทานากะ นากามิเนะบุคคลสำคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมในยุคเมจิ
ที่อยู่ | 54 Nakamachi, Nishio City |
---|
โอโมเตะ โรคุเกะมาจิ
(Omote-Rokugemachi)
โอโมเตะ โรคุเกะมาจิ หมายถึงย่านการค้าที่โดดเด่นหกแห่งในเมืองปราสาทนิชิโอะ ได้แก่ ฮอนมาจิ นากามาจิ สุดามาจิ โยโคมาจิ (ไซวาอิมาจิ) เทนโนมาจิ และซากานามาจิ ในช่วงเทศกาลกิองของศาลเจ้าอิบุนจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองโดยมีถนนเหล่านี้เป็นศูนย์กลาง
ถนนซากานามาจิ โดริ
(Sakana Machi Street)
ถนนซากานามาจิ โดริ เป็นย่านช้อปปิ้งที่มีการขายของใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสนับสนุนการค้าขายให้ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองปราสาท ในช่วงต้นยุคโชวะ มีการขยายถนนให้มีขนาดกว้างขวางขึ้น ทำให้รูปลักษณ์เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง แต่ในส่วนพื้นที่ใกล้กับตระกูลฮิราอินั้นยังคงรักษาบรรยากาศของยุคเมืองปราสาทไว้ได้ดี นอกจากนี้ในเดือนกรกฎาคม ยังมีการเดินขบวนแห่ไดเมียว ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีกรรมของเทศกาลกิองที่ศาลเจ้าอิบุน (กิจกรรมนี้จัดเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของเมือง)
ถนนจุนไค มาจิ
(Junkai-machi Street)
ถนนเส้นนี้เป็นเส้นทางเล็ก ๆ ที่ทอดจากเทนโน-มาจิ ไปยังซาคานะ-มาจิ กล่าวกันว่าชื่อ “จุนไม-มาจิ” มีที่มาจากเจ้าอาวาสจุนไมแห่งวัดยูโฮจิซึ่งเป็นผู้บุกเบิกเส้นทางนี้ ถนนสายนี้ยังคงรักษารูปลักษณ์ของเมืองปราสาทไว้ได้อย่างน่าประทับใจ
วัดยุยโฮจิ นิกายชินชู
(Yuihoji Temple)
วัดแห่งนี้ได้รับการย้ายที่ตั้งมายังตำแหน่งปัจจุบันโดยนักบวชชื่อว่าจุนไคจินในช่วงยุคคันเออิ (1624-44) ในช่วงสมัยเมจิ หัวหน้านักบวชเซ็นบุ คันเซ็น ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลมหาวิทยาลัย โจโด ชินชู (ประธาน) และได้ให้การศึกษาแก่นักศึกษาจำนวนมาก
ที่อยู่ | 12 Junkaimachi, Nishio City |
---|
ซากปรักหักพังโชดามอน
(Choda Gate Ruin)
ซากปรักหักพังโชดามอนตั้งอยู่ค่อนไปทางทิศตะวันออกของพื้นที่ที่เข้าสู่ไคเซมาจิจากถนนชูโอซึ่งเชื่อมต่อกับฮอนมาจิและอิซุมิมาจิ ซึ่งในปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยในอดีตอีกแล้ว